การลดต้นทุนการผลิต


 

ในการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและชุมชนชาวไร่อ้อย มิตรผลยังได้จัดตั้ง“สถานีขนถ่ายย่อย”ในแหล่งชุมชน เพื่อสร้างโอกาสทางรายได้ให้กับชาวไร่ รายเล็กด้วยการส่งเสริมให้พวกเขาได้ใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน อีกทั้งยังสามารถใช้ยานพาหนะขนาดเล็กของตนเองขนส่งอ้อย เข้าสู่สถานีขนถ่ายเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการขนส่ง เนื่องจากชาวไร่รายเล็กสามารถส่งอ้อยให้กับโรงงานได้โดยตรงผ่านทางสถานีขนถ่ายย่อยนี้ พวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมในการซื้อขายอ้อย การจัดตั้งสถานีขนถ่ายย่อยยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับชาวไร่อ้อยรายเล็กในการเดินทางระหว่างสถานีขนถ่ายถึงไร่อ้อยอีกด้วยเนื่องจากยานพาหนะขนาดเล็กมีความคล่องตัวสูงกว่ารถบรรทุกขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระไม่ให้ชาวไร่ต้องเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดตั้งสถานีขนถ่ายย่อยในทุกพื้นที่โรงงานของมิตรผลทั้งสิ้น 50 สถานี และมีการเพิ่มจำนวนสถานีขนถ่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริหารกับชาวไร่รายเล็ก โดยปัจจุบันมีสถานีขนถ่ายรวมทั้งสิ้น 167 สถานี

 

จากการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายพบว่าชาวไร่รายเล็กที่มีการจัดการผ่านสถานีขนถ่ายย่อยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 220 บาทต่อตันอ้อย เมื่อเทียบกับกรณีที่ชาวไร่ต้องวิ่งตรงเข้าโรงงาน

 

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรและต้นทุนการเก็บเกี่ยวอ้อยสูงขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และนโยบายของรัฐบาลที่มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้น ส่งผลให้แรงงานหนุ่มสาวสนใจที่จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากกว่าภาคการเกษตร กลุ่มมิตรผลได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าสถานการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศไทยอย่างแน่นอน จึงได้เริ่มมีการนำรถตัดอ้อยแบบสับท่อน (Chopper Sugarcane Harvester) เข้ามาใช้ในการเก็บเกี่ยวอ้อย เพื่อทดแทนแรงงานคน ลดต้นทุนในการเก็บเกี่ยวและขนส่งให้กับพื้นที่ปลูกอ้อยของบริษัทฯและชาวไร่ของกลุ่มมิตรผล โดยรถตัดอ้อยกลุ่มแรกมีการนำเข้ามาใช้งานเมื่อ ปี พ.ศ. 2538 หรือ เมื่อปริมาณ 20 ปีที่แล้ว